analyticstracking
หัวข้อ   “ นิยามรัก พ.ศ. ใหม่ แบบไหน คนไทยส่งให้กัน
                 “รักนี้เราจะผ่านมันไปด้วยกัน” คือนิยามความรักที่ประชาชนเห็นว่าเหมาะกับ พ.ศ. นี้ มากที่สุด
     โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 46.6 ระบุว่าจะส่งมอบความรักในวันวาเลนไทน์ผ่านไลน์สติกเกอร์
                  ทั้งนี้ร้อยละ 64.2 ระบุว่าบุคคลในสังคมไทยที่อยากมอบกุหลาบวันวาเลนไทน์ให้มากที่สุด คือ
     แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
                  ส่วนสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.9 วางแผนจะทำในวันวาเลนไทน์ พ.ศ. นี้ คือ
     อยู่บ้านกับคนรักและครอบครัว
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นี้เป็นวันวาเลนไทน์ กรุงเทพโพลล์โดย
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “นิยามรัก พ.ศ.
ใหม่ แบบไหน คนไทยส่งให้กัน”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน
1,186 คน พบว่า
 
                 วิธีส่งมอบความรักยอดนิยมในวันวาเลนไทน์ พ.ศ. นี้ คือ ส่งความรัก
ผ่านไลน์สติกเกอร์ ร้อยละ 46.6
รองลงมาคือ มอบกุหลาบ/ช็อกโกแลต/ของขวัญ
ด้วยตนเองกับมือ ร้อยละ 17.8 และวีดีโอคอล/โทรบอกรัก ร้อยละ 13.4
 
                 ทั้งนี้บุคคลในสังคมไทยที่อยากมอบดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์
พ.ศ. นี้ มากที่สุดคือ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 64.2
รองลงมา
คือ จิตอาสา/อสม. ร้อยละ 15.1 และ ตชด./ทหารตามแนวชายแดน ร้อยละ 10.0
 
                 สำหรับสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่วางแผนจะทำในวันวาเลนไทน์ พ.ศ.
นี้ คือ อยู่บ้านกับคนรักและครอบครัว ร้อยละ 89.9
รองลงมา คือพาคนรักไปเที่ยว
ทานอาหาร ร้อยละ 9.0 และ จะชวนกันไปจดทะเบียนสมรส ร้อยละ 0.5
 
                  ส่วนนิยามความรักที่ประชาชนเห็นว่าเหมาะกับ พ.ศ. นี้ มากที่สุด คือ รักนี้เราจะผ่านมันไปด้วยกัน
ร้อยละ 32.2
รองลงมาคือ รักกันแล้วแย่รักพ่อแม่ดีกว่า ร้อยละ 19.0 และ รักห่างๆ อย่างห่วงๆ ร้อยละ 16.2
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. วิธีส่งมอบความรักยอดนิยมในวันวาเลนไทน์ พ.ศ. นี้ 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
ส่งผ่านไลน์สติกเกอร์
46.6
มอบกุหลาบ/ช็อกโกแลต/ของขวัญ ด้วยตนเองกับมือ
17.8
วีดีโอคอล/โทรบอกรัก
13.4
โพสต์ facebook
7.9
ส่งกุหลาบ/ของขวัญ ผ่านเมสเซนเจอร์/ไปรษณีย์
5.1
 
 
             2. บุคคลในสังคมไทยที่อยากมอบดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ พ.ศ. นี้ มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
64.2
จิตอาสา อสม.
15.1
ตชด./ทหารตามแนวชายแดน
10.0
นายกรัฐมนตรี
6.6
นักการเมืองที่ชื่นชอบ
2.1
 
 
             3. วาเลนไทน์ปีนี้มีแผนจะทำอะไร

 
ร้อยละ
อยู่บ้านกับคนรักและครอบครัว
89.9
พาคนรักไปเที่ยว ทานอาหาร
9.0
จดทะเบียนสมรส
0.5
การทำเซอไพรส์ขอแฟนแต่งงาน
0.3
นัดออกเดทครั้งแรก
0.3
 
 
             4. นิยามความรักที่เหมาะกับ พ.ศ. นี้ มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
รักนี้เราจะผ่านมันไปด้วยกัน
32.2
รักกันแล้วแย่รักพ่อแม่ดีกว่า
19.0
รักห่างๆ อย่างห่วงๆ
16.2
รักน้อยๆ แต่รักนานๆ
13.9
ความรักไม่จำกัดเพศ และวัย
4.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบการส่งมอบความรักในวันวาเลนไทน์
รวมถึงนิยามความรักที่เหมาะกับ พ.ศ. นี้ มากที่สุด เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม
และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 8-10 กุมภาพันธ์ 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 14 กุมภาพันธ์ 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
572
48.2
             หญิง
614
51.8
รวม
1,186
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
113
9.5
             31 – 40 ปี
178
15.0
             41 – 50 ปี
289
24.4
             51 – 60 ปี
328
27.7
             61 ปีขึ้นไป
278
23.4
รวม
1,186
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
688
58.0
             ปริญญาตรี
370
31.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
128
10.8
รวม
1,186
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
139
11.7
             ลูกจ้างเอกชน
231
19.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
446
37.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
64
5.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอาย
251
21.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
24
2.0
             ว่างงาน/
31
2.3
รวม
1,186
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898